ธนาคารยูโอบี จับมือสภาการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีน (CCPIT) หนุนผู้ประกอบการจีนที่ต้องการขยายธุรกิจสู่ประเทศไทย

หน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI Advisory Unit) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับบริษัทจากประเทศจีนจำนวน 20 แห่งที่เข้ามาศึกษาโอกาสการลงทุนในประเทศไทยจัดโดยสภาการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีน (CCPIT)

องค์กรธุรกิจจากประเทศจีนที่สนใจเข้ามาศึกษาโอกาสในการลงทุนในประเทศไทยครั้งนี้ เป็นธุรกิจในกลุ่มสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ สินค้าอุปโภคบริโภค และการสื่อสาร เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ตั้งอยู่ศูนย์กลางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบกับนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การยกเว้นการเก็บภาษี และการลงทุนของทางภาครัฐ ทำให้นักลงทุนจีนต้องการขยายธุรกิจในต่างแดน ให้ความสนใจประเทศไทย ทั้งนี้เมื่อปลายปี 2560 จีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยมีปริมาณการค้าทวิภาคี สูงถึงเกือบ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI Advisory Unit) ในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2556 เพื่อส่งเสริมการขยายธุรกิจข้ามพรมแดน โดยหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้ง 9 แห่งรวมได้ให้การสนับสนุนการลงทุนแก่บริษัทจากประเทศจีนแล้วกว่า 500 แห่ง นอกจากนี้ ยูโอบียังเป็นธนาคารแรกและธนาคารเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสภาการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีน (CCPIT) และหอการค้านานาชาติจีน (China International Chamber of Commerce) เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจจากจีนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 มิสเตอร์แซม ชอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่พาณิชย์ธนกิจและหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการลงทุนระหว่างประเทศ กลุ่มธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “นอกจากธนาคารยูโอบี จะมีหน่วยงานที่ปรึกษาการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจำนวน 9 แห่ง ในการช่วยขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรายังได้จัดตั้งศูนย์บริการพิเศษ China Desks ในห้าประเทศที่มีเส้นทางการค้าเชื่อมโยงกับ ยุทธศาสตร์ Belt and Road คือประเทศไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม พร้อมจัดตั้งทีมงานมืออาชีพเฉพาะกิจที่มากด้วยประสบการณ์ซึ่งเข้าใจถึงความแตกต่างของวัฒนธรรมภาษาและมารยาททางวัฒนธรรมของจีน รวมถึงความเข้าใจความต้องการของตลาดในแต่ละประเทศ เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการจีนที่ต้องการขยายการลงทุนเข้ามาในภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้”

และเพื่อเป็นการตอบรับแผนการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ธนาคารยูโอบีได้ให้การสนับสนุนบริษัทต่างๆในกลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค การผลิตและสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ยานยนต์และอิเลคทรอนิคส์จากจีนขยายการลงทุนเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ระบุโดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทยและเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจไทย 4.0

 มิสเตอร์เฉิง ชิงเต่า รองประธาน หอการค้านานาชาติจีน (Chinese Chamber of International Commerce) กล่าวว่า "เราจะเห็นการลงทุนจากบริษัทในประเทศจีน ขยายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ  ส่วนหนึ่งมาจากโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมระยอง (ไทย-จีน) ที่ตั้งอยู่ในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และยุทธศาสตร์ออกสู่ตลาดโลก (China’s Go Out Policy) ของประเทศจีน

  • date : 19-04-2018